โรคติดต่อ

Description

ผลงานของ นางสาว เพชรรัตน์ แสนบุดดี ชั้น ม.5/1 เลขที่ 13 รายวิชาสุขศึกษา เสนอ คุณครู กนกพร นันแก้ว
jomjam buddee
Mind Map by jomjam buddee, updated more than 1 year ago
jomjam buddee
Created by jomjam buddee over 7 years ago
421
0

Resource summary

โรคติดต่อ
  1. 1. โรคหวัดธรรมดา
    1. สาเหตุ
      1. เกิดจากเชื้อไวรัส ส่วนโรคไข้หวัดใหญ่ จะมีอาการรุนแรงกว่าโรคหวัดธรรมดาโดยทั่วไปแล้วเรามักเรียกว่า โรคหวัด หรือ ไข้หวัด เป็นโรคที่เป็นกันมาก และไม่เป็นอันตรายมากนัก เป็นมากในฤดูฝน เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งมีอยู่เกือบ 200 ชนิด เชื้อโรคนี้ปะปนอยู่ในอากาศถ้าร่างกายอ่อนแอเมื่อใดและได้รับเชื้อโรคนี้เข้าไปก็จะเป็นหวัดได้
        1. อาการ
          1. ผู้ป่วยอาจมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ เจ็บคอ คอแห้ง คัดจมูก น้ำมูกไหล มีไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัว ไอ จาม มีเสมหะผู้ป่วยมีอาการมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานโรคของร่างกาย และในการป่วยเป็นโรคหวัดในแต่ละคนนั้น อาจมีอาการไม่เหมือนกันและไม่ได้มีอาการทุกอย่างตามที่กล่าวมาแล้ว อาจมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น
            1. การป้องกัน
              1. 1. ทำให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ จะทำให้มีภูมิต้านทานโรค
                1. 2. ไม่ควรตากฝน แต่ถ้าตากฝนมาควรทำให้ร่างกายอบอุ่นโดยเร็ว
                  1. 3. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วย การใช้สิ่งของเครื่องใช้ส่วนตัวร่วมกับผู้ป่วย
                    1. 4. เมื่ออากาศหนาวเย็นควรสวมเสื้อผ้าให้ร่างกายอบอุ่น
    2. 2. โรคไข้หวัดใหญ่
      1. สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัส พบได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ สามารถติดต่อกันได้ง่าย มีอาการรุนแรงกว่าโรคไข้หวัดธรรมดา
        1. อาการ ผู้ป่วยจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย คัดจมูกน้ำมูกไหล ตาแดง ไอ จาม บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องเดิน และอาจมีโรคแทรกซ้อนได้ เช่น หลอดลมอักเสบ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ปอดบวม ต่อมทอนซิลอักเสบ เป็นต้น
          1. การป้องกัน การป้องกันโรคนี้เหมือนกันการป้องกันโรคหวัดธรรมดา และในปัจจุบันนี้มีวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ซึ่งผู้ที่ควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคหอบหืด โรคไต โรคเลือด โรคหัวใจ โรคปอด เป็นต้น ผู้ป่วยติดเชื้อเอสไอวี เด็กที่มีโรคเรื้อรังเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ผู้ที่กำลังจะเดินทางไปต่างประเทศ และผู้ที่ทำงานบริการสาธารณชน
      2. 3. โรคไข้หวัดนก
        1. สาเหตุ เกิดจากเชื้อไวรัสเอเวียนฟลูเอนซา ชนิด เอ(Avian Influenza Type A)
          1. อาการ ระยะฟักตัวในคนใช้เวลาสั้นประมาณ 1-3 วัน อาจมีอาการทางระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน มีไข้สูง หนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย มีน้ำมูก ไอ และเจ็บคอ บางครั้งอาจมีอาการตาแดง ซึ่งจะหายเป็นปติเองภายใน 2-7 วัน หากเกิดมีอาการติดเชื้อหรืออาการแทรกซ้อน อาจมีอาการรุนแรง ทำให้ปอดบวม และหัวใจล้มเหลวได้ โดยเฉพาะในเด็ก และผู้สูงอายุ
            1. การรักษา ไม่มียาที่ใช้รักษาโรคนี้ได้โดยตรง ซึ่งในปัจจุบันแพทย์รักษาเหมือนกับการรักษาไข้หวัดใหญ่ทั่วไปคือรักษาตามอาการ ส่วนการใช้ยาต้านไวรัสขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของแพทย์ผู้ทำการรักษา
        2. 4. โรคมาลาเรีย
          1. สาเหตุ เชื้อที่ทำให้เกิดมาลาเรียคือโปรโตซัว (ProtoZoa) มีอยู่หลายชนิดแต่ที่สำคัญในประเทศไทย คือ พลาสโมเดียมฟาลซิพารัม พบประมาณร้อยละ 70-90 ชองผู้ป่วย โดยมียุงก้นปล่องเป็นพาหะนำโรค
            1. อาการ เกิดหลังจากได้รับเชื้อจากยุงก้นปล่องกัดประมาณ 10-14 วัน (แต่อาจนานหลายสัปดาห์หรือหลายเดือนก็ได้) ใน 2-3 วันแรก มีอาการปวดศีรษะ ครั่นเนื้อครั่นตัว ปวดเมื่อยตามตัวคล้ายไข้หวัดใหญ่ ต่อมาจะมีอาการเจ็บไข้ เป็นอาการที่เด่นชัดของมาลาเรีย ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ 1. ระยะสั่น มีอาการหนาวสั่นมาก มีไข้ ผิวหนังซีด อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และเบื่ออาหาร มีอาการในระยะนี้ประมาณ 20-30 นาที 2. ระยะร้อนไข้ขึ้นสูงประมาณ 40 องศาเซลเซียส ปวดศีรษะมาก อาจปวดลึกเข้าไปในกระบอกตา หน้าแดง ตาแดง กระสับกระส่าย เพ้อ กระหายน้ำ ชีพจรเต้นเร็ว อาจมีคลื่นไส้ อาเจียน ปวดกระดูกกล้ามเนื้อ ในเด็กอาจชักได้ เป็นประมาณ 2 ชั่วโมง หรืออาจนานถึง 3-8 ชม. 3. ระยะเหงื่อออก มีเหงื่อออก ไข้ลดลงเป็นปกติ แต่รู้สึงอ่อนเพลีย และหลับ ระยะนี้ประมาณ 1 ชม. ในปัจจุบันผู้ป่วนมาลาเรียระยะแรกอาจมีไข้สูงตลอด
              1. การป้องกัน 1. ป้องกันยุงก้นปล่องที่มีเชื้อมาลาเรียมากัด ยุงก้นปล่องชนิดนำเชื้อมาลาเรียมีนิสัยหรือพฤติกรรมในการออกหากินในเวลากลางคืนตั้งแต่พลบค่ำจนถึงเวลารุ่งเช้าของวันรุ่งขึ้น 2. บุคคลที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ในพื้นที่ที่ยังมีการเกิดโรคมาลาเรีย อยู่ในบ้านที่ได้รับการพ่นน้ำยาป้องกันยุง เวลานอนควรนอนในมุ้งชุบน้ำยาป้องกันยุง 3. ทายาป้องกันยุงป้องกันยุงกัดบริเวณที่เสื้อผ้าปกปิดไม่มิด
          2. 5. วัณโรค
            1. สาเหตุ เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งมีคุณสมบัติในการทนต่อความร้อนและความแห้งแล้งได้ดีแต่ถูกทำลายได้ง่ายด้วยแสงแดด ผู้ที่ได้รับเชื้อวัณโรคบางคนอาจไม่เป็นวัณโรคเพราะร่างกายมีกลไกหลายอย่างที่จะต่อสู้ป้องกันวัณโรค แต่เมื่อได้รับเชื้อเอดส์จะทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายเสื่อมลง จึงติดเชื้อวัณโรคได้ง่าย
              1. อาการ ผู้ป่วยจะอ่อนเพลีย เบื่ออาหารน้ำหนักลด ไอเรื้อรัง ไอแห้งๆ อาจมีเลือดปนเสมหะ มีไข้ตอนบ่ายๆ เหงื่อออกมากเวลากลางคืน เจ็บหน้าอกและเหนื่อยหอบ
                1. การป้องกัน 1. ฉีดวัคซีนบีซีจีตั้งแต่เด็ก 2. เมื่อถึงวัยผู้ใหญ่ควรเอกซเรย์ปอยอย่างน้อยปีละครั้ง 3. บำรุงรักษาสุขภาพของร่างกายให้แข็งแรง 4. หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ป่วย 5. ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น ไอเป็นเลือด มีไข้ น้ำหนักลด เบื่ออาหาร ควรรีบไปพบแพทย์ 6. ระวังตัวอย่าให้ติดเชื้อเอดส์
            Show full summary Hide full summary

            Similar

            การวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว
            plaifa sangsooK
            การเจริญเติบโต และ พัฒนาการของมนุษย์
            เชาวรัตน์ เเสงกล้า
            การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์
            อุทุมพร ดงหิงษ์
            ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน
            jomjam buddee
            เซต
            surasit sadlan
            หลีกเลี่ยงความรุนแรง
            Pawadee Chaiyasa
            ตรรกศาสตร์เบื้องต้น
            patchara katkong
            ระบบเลขฐาน
            supaporn somparn
            โรคไต
            Suwat Singthong
            สถิติ
            supatharaporn.1524