อริยสัจ 4_1

Description

ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ
pmanisa
Mind Map by pmanisa, updated more than 1 year ago More Less
kongpop113
Created by kongpop113 over 10 years ago
pmanisa
Copied by pmanisa over 10 years ago
84
0

Resource summary

อริยสัจ 4_1

Annotations:

  • ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระอริยะ หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ
  1. ทุกข์

    Annotations:

    • สภาพที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สภาพที่บีบคั้น ได้แก่ ชาติ (การเกิด) ชรา (การแก่ การเก่า) มรณะ (การตาย การสลายไป การสูญสิ้น) การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สมหวังในสิ่งนั้น กล่าวโดยย่อ ทุกข์ก็คืออุปาทานขันธ์ หรือขันธ์ 5
    1. ชาติ
      1. ชรา
        1. มรณะ
          1. โสกะ
            1. ปริเทวะ
              1. ทุกข์กาย
                1. โทมนัส
                  1. อุปายาส
                    1. ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก
                      1. ความพลัดพรากจากสิ่งที่รัก
                        1. ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้สิ่งนั้น
                        2. สมุทัย

                          Annotations:

                          • สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ ตัณหา 3 คือ กามตัณหา-ความทะยานอยากในกาม ความอยากได้ทางกามารมณ์, ภวตัณหา-ความทะยานอยากในภพ ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ และ วิภวตัณหา-ความทะยานอยากในความปราศจากภพ ความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วยวิภวทิฏฐิหรืออุจเฉททิฏฐิ
                          1. กามตัณหา

                            Annotations:

                            • ความอยากในกาม ความเยื่อใยในกาม ฯลฯ โดยทั่วไปหมายถึงความอยากในกามคุณ 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รสและโผฏฐัพพะ ใจความสูงสุดของกามตัณหา หมายถึงความยินดี ความติดใจ ความพอใจในกามภพอันเป็นที่เกิดของผู้ยังเกี่ยวข้องด้วยกามซึ่งพร้อมมูลด้วยกามได้แก่โลกมนุษย์และเทวโลก
                            1. ภวตัณหา

                              Annotations:

                              • ความอยากมีอยากเป็น คืออยากมีอย่างนั้นอย่างนี้ อยากเป็นนั่นเป็นนี่ ภวตัณหา ใจความสูงสุดหมายถึงความกำหนัดยินดีในรูปภพและอรูปภพ คือความพอใจติดใจในฌานด้วยความปรารถนาภพ อันเป็นความยินดีที่ประกอบด้วยสัสสตทิฐิ คือความเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างเช่นเบญจขันธ์เป็นของเที่ยงแท้ ยั่งยืน มีติดต่อกันไปไม่เปลี่ยนแปลง กล่าวคืออยากเกิดอยากเป็นเช่นที่เป็นอยู่ตลอดไป
                              1. ภวตัณหา

                                Annotations:

                                • ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น คืออยากจะพ้นจากภาวะที่ตนไม่ต้องการไม่อยากได้ เช่น อยากพ้นจากความยากจนจากความเจ็บไข้ พ้นจากความยากจน หรือ ไม่อยากเจอหน้าคนที่เราไม่ชอบใจ เป็นต้น วิภวตัณหา อีกความหมายหนึ่ง หมายถึง ความคิดที่ผิด (อุจเฉททิฐิ) คือ เห็นว่าภพชาติไม่มี อันเป็นความความเห็นผิดที่ทำให้ไม่คำนึงถึงบาปบุญคุณโทษ เพราะความเห็นชนิดนี้เชื่อว่าชาติหน้าไม่มี คนเราตายแล้วสูญ จึงทำให้ปฏิบัติตนไปตามใจปรารถนาด้วยอำนาจของตัณหา โดยไม่กังวลถึงผลที่จะตามมาภายหลัง
                              2. นิโรธ

                                Annotations:

                                • ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ กล่าวคือ ดับตัณหาทั้ง 3 ได้อย่างสิ้นเชิง   นิโรธ 5 หมายถึง ความดับกิเลส ภาวะไร้กิเลสและไม่มีทุกข์เกิดขึ้นนิโรธเป็นธรรมะที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้นิโรธ มี 5 ประการ โดยมีชื่อเรียกอย่างอื่นอีก เช่น ปหาน 5 (การละกิเลส 5 ประการ)วิมุตติ 5 (ความหลุดพ้น 5 ประการ)วิเวก 5 (ความสงัด ความปลีกออก 5 ประการ)วิราคะ 5 (ความคลายกำหนัด ความสำรอกได้ 5 ประการ)โวสสัคคะ 5 (ความสละ ความปล่อย 5 ประการ) 
                                1. ปหาน - การละกิเลส
                                  1. ตทงฺคปหาน ได้แก่การละกิเลสได้ชั่วขณะ
                                    1. วิกฺขมฺภนปหาน ได้แก่การข่มนิวรณ์
                                      1. สมุจฺเฉทปหาน ได้แก่การละกิเลสได้โดยเด็ดขาด
                                      2. วิมุตติ - การหลุดพ้น
                                        1. ตทังควิมุตติ - การพ้นไปจากอำนาจ"ตัวกู-ของกู"

                                          Annotations:

                                          • การพ้นไปจากอำนาจของ"ตัวกู-ของกู"ด้วยอำนาจของสิ่งที่บังเอิญประจวบเหมาะ
                                          1. วิกขัมภนวิมุตติ - ความดับแห่ง"ตัวกู"

                                            Annotations:

                                            • ความดับแห่ง"ตัวกู" ซึ่งเป็นไปด้วยอำนาจของการประพฤติหรือการกระทำทางจิต หมายถึง ขณะนั้นมีการกระทำจิตให้ติดอยู่กับอารมณ์ของสมาธิอย่างใดอย่างหนึ่งตามแบบของการทำสมาธิ
                                            1. สมุจเฉทวิมุตติ - ความดับ"ตัวกู"

                                              Annotations:

                                              • ความดับ"ตัวกู" ด้วยการกระทำทางปัญญา คือการทำลายอวิชชาลงอย่างสิ้นเชิง
                                            2. วิเวก - ความสงัด
                                              1. กายวิเวก - ความสงัดกาย

                                                Annotations:

                                                • ความสงัดกาย ได้แก่การอยู่ในที่สงัดก็ดี ดำรงอิริยาบถและเที่ยวไปผู้เดียวก็ดี
                                                1. จิตตวิเวก - ความสงัดใจ

                                                  Annotations:

                                                  •  ความสงัดใจ ได้แก่การทำจิตให้สงบผ่องใส สงัดจากนิวรณ์ หมายเอาจิตแห่งผู้มีสมาธิและสติ
                                                  1. อุปธิวิเวก - ธรรมอันเป็นที่สงบ

                                                    Annotations:

                                                    • ธรรมอันเป็นที่สงบระงับอุปธิทั้งปวง (หมายเอาผู้ฝึกฝนทางปัญญา จนเอาชนะกิเลส อนุสัยและสังโยชน์อันเหตุสร้างกรรมทางกาย วาจา(อุปธิ)
                                                  2. วิราคะ - ความคลายกำหนัด

                                                    Annotations:

                                                    • ความปราศจากราคะ, ความไม่พึงใจ, ความหน่าย, ความไม่ไยดี; นิพพาน
                                                    1. โวสสัคคะ - ความสละ
                                                      1. นิโรธ 5
                                                        1. วิกขัมภนนิโรธ ดับด้วยข่มไว้
                                                          1. ตทังคนิโรธ ดับด้วยองค์นั้นๆ คือ ดับกิเลสด้วยธรรมที่เป็นคู่ปรับ
                                                            1. สมุจเฉทนิโรธ ดับด้วยตัดขาด คือ ดับกิเลสเสร็จสิ้นเด็ดขาด
                                                              1. ปฏิปัสสัทธินิโรธ ดับด้วยสงบระงับ คือ อาศัยโลกุตตรมรรค
                                                                1. นิสสรณนิโรธ ดับด้วยสลัดออกได้ หรือดับด้วยปลอดโปร่งไป
                                                              2. มรรค

                                                                Annotations:

                                                                • แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์ ได้แก่ มรรคอันมีองค์ประกอบอยู่แปดประการ คือ 1. สัมมาทิฏฐิ-ความเห็นชอบ 2. สัมมาสังกัปปะ-ความดำริชอบ 3. สัมมาวาจา-เจรจาชอบ 4. สัมมากัมมันตะ-ทำการงานชอบ 5. สัมมาอาชีวะ-เลี้ยงชีพชอบ 6. สัมมาวายามะ-พยายามชอบ 7. สัมมาสติ-ระลึกชอบ และ 8. สัมมาสมาธิ-ตั้งใจชอบ ซึ่งรวมเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" หรือทางสายกลาง
                                                                1. สัมมาทิฏฐิ - เห็นชอบ
                                                                  1. ความรู้อริยสัจ 4
                                                                    1. เห็นไตรลักษณ์
                                                                      1. อนิจจตา
                                                                        1. ทุกขตา
                                                                          1. อนัตตา
                                                                          2. เห็นปฏิจสมุปบาท

                                                                            Annotations:

                                                                            • เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย สังขารจึงมีเพราะสังขารเป็นปัจจัย วิญญาณจึงมีเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย นามรูปจึงมีเพราะนามรูปเป็นปัจจัย สฬายตนะจึงมีเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย ผัสสะจึงมีเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เวทนาจึงมีเพราะเวทนาเป็นปัจจัย ตัณหาจึงมีเพราะตัณหาเป็นปัจจัย อุปทานจึงมีเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ภพจึงมีเพราะภพเป็นปัจจัย ชาติจึงมีเพราะชาติเป็นปัจจัย ชรามรณะจึงมีความโศก ความคร่ำครวญ ทุกข์ โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็มีพร้อม ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวงนี้ จึงมี
                                                                            1. อวิชชา

                                                                              Annotations:

                                                                              • ความไม่รู้อริยสัจ 4 - ความไม่รู้ในทุกข์ - ความไม่รู้ในเหตุให้เกิดทุกข์ - ความไม่รู้ในความดับทุกข์ - ความไม่รู้ในหนทางแห่งความดับทุกข์
                                                                              1. สังขาร
                                                                                1. วิญญาณ
                                                                                  1. ความรู้แจ้งอารมณ์
                                                                                    1. รู้อารมณ์ทางตา
                                                                                      1. รู้อารมณ์ทางหู
                                                                                        1. รู้อารมณ์ทางจมูก
                                                                                          1. รู้อารมณ์ทางลิ้น
                                                                                            1. รู้อารมณ์ทางกาย
                                                                                              1. รู้อารมณ์ทางใจ
                                                                                            2. นามรูป
                                                                                              1. นามขันธ์ 3 + รูป
                                                                                                1. รูป
                                                                                                  1. เวทนา
                                                                                                    1. สัญญา
                                                                                                      1. สังขาร
                                                                                                    2. สฬายตนะ
                                                                                                      1. ผัสสะ
                                                                                                        1. เวทนา
                                                                                                          1. ตัณหา
                                                                                                            1. อุปาทาน
                                                                                                              1. กามุปาทาน ยึดติดในกาม
                                                                                                                1. ทิฏฐุปาทาน ยึดถือในทิฏฐิ
                                                                                                                  1. สีลัพพัตตุปาทาน ติดยึดในศีลวัตรที่งมงาย
                                                                                                                    1. อัตตวาทุปาทาน ยึดมั่นในตัวเอง ของตัวเอง
                                                                                                                  2. ภพ
                                                                                                                    1. กามภพ

                                                                                                                      Annotations:

                                                                                                                      • กามภพ สภาวะหรือบทบาทต่างๆในแบบทางโลกๆทั้งหลายทั้งปวงที่มนุษย์พึงมี อันเนื่องมาจาก รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์ อันล้วนก่อให้เกิดภพย่อยเจาะจงลงไปได้อีก อันเนื่องมาจากความต้องการใน รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส ธรรมารมณ์นั้น ดังเช่น ปฏิฆะ-ความขุ่นเคือง ขัดข้อง, ราคะ-ความรัก ความใคร่, โลภ, โมหะ-ความหลง,ความไม่เข้าใจ,ความไม่เห็นตามความเป็นจริง, โทสะ-ความโกรธ ความขุ่นเคือง ฯลฯ.            กามภพสามารถพิจารณาได้หลายมุมมอง ดังเช่นแบ่งภพไปตามสถานะภาพ ดังเช่น ภพของความเป็นพ่อ, ภพของความเป็นแม่,  ภพของความเป็นลูก,  ภพความเป็นเจ้าของ,  ภพของความเป็นเจ้านาย, ภพของความเป็นลูกน้อง....ฯลฯ.    หรือแบ่งออกตามกิเลสที่เกิดขึ้น  เช่น  ภพของความโลภ(ราคะ),  ภพของความขุ่นเคือง(ปฏิฆะ),  ภพของความหลง(โมหะ), ภพของความโกรธ(โทสะ)  เหล่านี้ล้วนจัดได้ว่าเป็น ภพย่อย ของ กามภพ ทั้งสิ้น    ดังนั้นเมื่อเกิดภพของจิตเยี่ยงใด ย่อมเป็นไปตามวงจรของการเกิดขึ้นแห่งทุกข์คือการเกิด(ชาติ)ตามมาของจิตเยี่ยงนั้น  อันนำไปสู่อุปาทานทุกข์เป็นที่สุด
                                                                                                                      1. รูปภพ

                                                                                                                        Annotations:

                                                                                                                        • รูปภพ  สภาวะหรือสถานะที่ยังยึดติดยึดถือในรูปอันวิจิตรที่สัมผัสได้ด้วยใจ กล่าวคือ ละเอียดอ่อนซ่อนรูปกว่า รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ธรรมารมณ์ ทั้ง ๖ ในกามภพ อันหมายถึง รูปฌานหรือสมาธินั่นเอง แต่หมายถึงรูปฌานหรือสมาธิ อันเกิดขึ้นจากตัณหาหรือนันทิเท่านั้น  อันเนื่องเพราะความสุข,สงบ,สบายอันเป็นผลจากรูปฌานหรือสมาธิ หรือเพราะอวิชชาที่แอบซ่อนนอนเนื่องโดยไม่รู้ตัว  จึงเกิดการติดเพลิน(นันทิ)ขึ้นในที่สุดนั่นเอง   เป็นข้อที่น่าพึงโยนิโสมนสิการสังเกตุสําหรับนักปฏิบัติที่ยึดติดเน้นแต่การปฏิบัติในรูปแบบสมถสมาธิหรือฌานอันเป็นสุข โดยไม่ดำเนินไปในการวิปัสสนาให้เกิดปัญญาอย่างถูกต้องร่วมด้วย  เพราะเกิดภพเมื่อใดย่อมเป็นไปตามวงจรให้เกิดอุปาทานทุกข์ตามมาเป็นที่สุด
                                                                                                                        1. อรูปภพ

                                                                                                                          Annotations:

                                                                                                                          • อรูปภพ สภาวะหรือสถานะในอรูปอันวิจิตรอันสัมผัสได้ด้วยใจ ใน อรูปฌานอันมักเกิดแต่ตัณหาที่แอบซ่อนนอนเนื่องโดยไม่รู้ตัว(นันทิ-ติดเพลิน) เช่นเดียวกับรูปภพ  ดังเช่น การไปติดเพลินในอรูปฌานต่างๆหรือความว่างอย่างยึดติดยึดถือ คอยกระทำหรือทรงอยู่แม้ในภาวะจิตตื่น(วิถีจิต) อันย่อมนำไปสู่อุปาทานทุกข์ในที่สุดเช่นกัน
                                                                                                                        2. ชาติ
                                                                                                                          1. ชรา มรณะ
                                                                                                                          2. รู้อกุศลและอกุศลมูล
                                                                                                                            1. รู้กุศลและกุศลมูล
                                                                                                                            2. สัมมาสังกัปปะ - ดำริชอบ
                                                                                                                              1. ความดำริที่ปลอดจากโลภะ
                                                                                                                                1. ดำริในอันไม่พยาบาท
                                                                                                                                  1. ดำริในอันไม่เบียดเบียน
                                                                                                                                  2. สัมมาวาจา - เจรจาชอบ
                                                                                                                                    1. งดเว้นจากการพูดเท็จ
                                                                                                                                      1. งดเว้นจากการพูดส่อเสียด
                                                                                                                                        1. งดเว้นจากการพูดคำหยาบ
                                                                                                                                          1. งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
                                                                                                                                          2. สัมมากัมมันตะ - กระทำชอบ
                                                                                                                                            1. การงดเว้นการฆ่าสัตว์
                                                                                                                                              1. การงดเว้นจากการถือเอาสิ่งของที่เขามิได้ให้
                                                                                                                                                1. การงดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม
                                                                                                                                                2. สัมมาอาขีวะ - เลี้ยงชีพชอบ
                                                                                                                                                  1. เว้นมิจฉาอาชีวะ
                                                                                                                                                    1. การโกง หรือ หลอกลวง
                                                                                                                                                      1. ประจบสอพลอ บีบ บังคับขู่เข็ญ
                                                                                                                                                        1. แสวงหาลาภโดยไม่ประกอบด้วยความเพียร
                                                                                                                                                          1. การต่อลาภด้วยลาภ
                                                                                                                                                        2. สัมมาวายามะ - เพียรชอบ
                                                                                                                                                          1. มิให้อกุศลธรรมเกิดขึ้น
                                                                                                                                                            1. ละอกุศลธรรมที่บังเกิดขึ้นแล้ว
                                                                                                                                                              1. ให้กุศลธรรที่ยังไม่เกิดบังเกิดขึ้น
                                                                                                                                                                1. รักษากุศลธรรมไม่ให้เสื่อม
                                                                                                                                                                2. สัมมาสมาธิ - ระลึกชอบ

                                                                                                                                                                  Annotations:

                                                                                                                                                                  • ความตั้งใจมั่นโดยถูกทาง โดยการที่กุศลจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว (ความตั้งมั่นแห่งกุศลจิตในในอารมณ์อันใดอันหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน)เข้าถึง ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และ จตุตถฌาน (จิตตั้งมั่นในฌานทั้ง 4 นี้ ส่วนอรูปฌาน)ทั้ง4ท่านจัดเข้าในจตุตถฌาน ตามอารมณ์ที่อรูปฌานมีเจตสิกที่เข้ามาประกอบในจิต คือ อุเบกขาเจตสิกและเอกัคคตาเจตสิก เช่นเดียวกับจตุตถฌาน
                                                                                                                                                                  1. ปฐมฌาน
                                                                                                                                                                    1. ทุติยฌาน
                                                                                                                                                                      1. ตติยฌาน
                                                                                                                                                                        1. จตุตถฌาน
                                                                                                                                                                        2. สัมมาสติ - ตั้งใจมั่นชอบ

                                                                                                                                                                          Annotations:

                                                                                                                                                                          • การมีสติกำหนดระลึกรู้อยู่เป็นนิจว่า กำลังทำอะไรอยู่ กำหนดรู้สภาวะที่เกิดขึ้นจริงในขณะปัจจุบัน ในสภาวะทั้ง 4 คือ กาย เวทนา จิต และธรรม ตามความจำกัดความแบบพระสูตร คือหลักธรรมที่เรียกว่าสติปัฏฐาน ๔ แบ่งออกเป็น 4
                                                                                                                                                                          1. กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน - กำหนดระลึกรู้ในกาย
                                                                                                                                                                            1. เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน - กำหนดระลึกรู้ในเวทนา
                                                                                                                                                                              1. ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน - กำหนดระลึกรู้ในธรรม คือ สัญญา และสังขาร
                                                                                                                                                                                1. จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน - กำหนดระลึกรู้ในจิต
                                                                                                                                                                              Show full summary Hide full summary

                                                                                                                                                                              Similar

                                                                                                                                                                              Formula for Physics IGCSE edexcel
                                                                                                                                                                              amayagn
                                                                                                                                                                              Chemistry C1
                                                                                                                                                                              Chloe Winn
                                                                                                                                                                              Mobile Application
                                                                                                                                                                              Santi Sounsri
                                                                                                                                                                              Economics - unit 1
                                                                                                                                                                              Amardeep Kumar
                                                                                                                                                                              Carbohydrates
                                                                                                                                                                              anna.mat1997
                                                                                                                                                                              Unit 1 Cells, exchange and transport (F211) - cells
                                                                                                                                                                              Jenni
                                                                                                                                                                              Plato's philosophy
                                                                                                                                                                              Sumahlor
                                                                                                                                                                              Japanese Hiragana
                                                                                                                                                                              pangcaberte
                                                                                                                                                                              Chapter 5: Short-term and Working Memory
                                                                                                                                                                              krupa8711
                                                                                                                                                                              a christmas carol
                                                                                                                                                                              maha.als10
                                                                                                                                                                              Salem does not remember
                                                                                                                                                                              Salma Moustafa