การวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว

Description

ผลงานของ นางสาวปลายฟ้า แสงสุข ชั้น ม.5/1 รายวิชา สุขศึกษา เสนอ คุณครู กนกพร นันแก้ว
plaifa sangsooK
Mind Map by plaifa sangsooK, updated more than 1 year ago
plaifa sangsooK
Created by plaifa sangsooK over 7 years ago
15738
3

Resource summary

การวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว
  1. 1. ความหมายของ การวางแผนดูแลสุขภาพ
    1. การวางแผนดูแลสุขภาพ หมายถึง การกำหนดรูปแบบในการดูแลสุขภาพตามที่ต้องการ รวมถึงวัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ และแนวทางในการปฏิบัติเพื่อการมีสุขภาพที่ดี
      1. การวางแผนดูแลสุขภาพจะช่วยให้เกิดความกระตือรือร้นในการดูแลสุขภาพ และสร้างสัมพันธภาพ อันดีระหว่างสมาชิกในครอบครัว นำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคต
    2. 2. หลักการวางแผนและการปฏิบัติ ตามแผนดูแลสุขภาพ
      1. หลักการวางแผนแบบ Deming คือ หลักการควบคุมคุณภาพที่เรียกว่า วงจรเดมมิง (Deming) เพื่อที่จะบรรลุเป้าหมาย จึงต้องมีขั้นตอนการปฏิบัติ 4 ขั้นตอน ดังนี้
        1. 1. P (Plan) คือ การวางแผน เพื่อตั้งเป้าหมาย เลือกปัญหาและวางแผนการแก้ปัญหา
          1. 2. D (Do) คือ การลงมือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้
            1. 3. C (Check) คือ การตรวจสอบผลแล้วเปรียบเทียบผล
              1. 4. A (Action) คือ การนำ�ผลการตรวจสอบมาปรับปรุงและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
        2. หลักการให้ข้อมูลย้อนกลับ คือ หลักการที่จะช่วยให้ผู้ปฏิบัติได้รับรู้ถึงแนวทางในการปฏิบัติ ของตนเองว่าเป็นอย่างไร มีข้อดีหรือข้อบกพร่องอย่างไรบ้าง สิ่งใดที่ทำถูกต้อง สิ่งใดที่ทำไม่ถูกต้อง โดยการให้คำชมเชยหรือกลังใจเมื่อผู้ปฏิบัติทำถูกต้อง และบอกจุดบกพร่องเมื่อผู้ปฏิบัติทำไม่ถูกต้อง ซึ่งจะทำให้ผู้ปฏิบัติสามารถปรับปรุงแก้ไขได้ทันที หลักการนี้ไม่เหมาะกับการดำเนินการเพียงผู้เดียว จึงต้องอาศัยผู้ฝึกหรือผู้ปฏิบัติร่วมกันช่วยสังเกตซึ่งกันและกันจึงจะมีประสิทธิภาพ นักเรียนจึงต้อง เลือกใช้หลักการที่เหมาะสมกับตนเองและบุคคลในครอบครัว
        3. 3. วิธีการวางแผนดูแล สุขภาพของตนเอง และบุคคลในครอบครัว
          1. 3.1 โภชนาการ
            1. การวางแผนรับประทานอาหารอย่างเหมาะสม จะส่งผลให้มีสุขภาพดี ซึ่งต้องรับประทานอาหาร ตามสัดส่วนที่เหมาะสมกับเพศและวัย โดยกำหนดรายการอาหารแต่ละวัน เพื่อให้ได้อาหารครบทั้ง 5 หมู่ ซึ่งอาจวางแผนกำหนดเป็นช่วงสัปดาห์
            2. 3.2 การออกกำลังกาย
              1. การออกกำลังกายจะทำให้อวัยวะ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทุกคนจึงต้อง ออกกำลังกาย โดยอาจปฏิบัติร่วมกันในครอบครัว หรือตามความเหมาะสมของแต่ละบุคคล โดย ศึกษารูปแบบการออกกำลังกายให้เหมาะสม กับวัย เพศ และสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล ควรปฏิบัติครั้งละไม่ตํ่ากว่า 30 นาที สำหรับผู้ที่มี โรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ก่อน
              2. 3.3 การพักผ่อน
                1. การพักผ่อนช่วยให้ร่างกายได้ผ่อนคลาย และสร้างเสริมร่างกายให้สมบูรณ์แข็งแรงยิ่งขึ้น การนอนหลับเป็นการพักผ่อนที่ช่วยให้ร่างกายได้พักและซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ โดยระยะเวลาการนอนหลับ ที่เหมาะสมจะแตกต่างกันไปตามวัย เช่น วัยทารกควรนอนวันละ 18-20 ชั่วโมง วัยเด็กและวัยรุ่น ควรนอนวันละประมาณ 8-9 ชั่วโมง วัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ ควรนอนวันละประมาณ 7-8 ชั่วโมง การนอนหลับจึงต้องปฏิบัติให้เหมาะสมกับวัย การทำกิจกรรมนันทนาการก็เป็นการพักผ่อนที่ดีวิธีหนึ่ง เพราะช่วยให้ผ่อนคลายอาร
                2. 3.4 การตรวจสุขภาพ
                  1. ทุกคนในครอบครัวต้องรู้จักสังเกตสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นกับตนเองและบุคคลในครอบครัว การวางแผนการตรวจสุขภาพนั้น จะแตกต่างไปตาม เพศและวัย
                3. 4. การสำารวจปัจจัยที่มีผล ต่อสุขภาพของตนเอง และบุคคลในครอบครัว
                  1. เพื่อทราบสาเหตุของปัญหาสุขภาพ ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ เช่น พฤติกรรมบุคคล สภาพร่างกาย กิจวัตรประจำวัน การรับประทานอาหาร การพักผ่อน สภาพแวดล้อม สุขาภิบาล ซึ่งดำเนินการได้ดังนี้
                    1. 4.1 สอบถามถึงสภาพของปัญหาสุขภาพที่เกิดกับแต่ละบุคคล
                      1. 4.2 สืบค้นเกี่ยวกับปัจจัยซึ่งอาจเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพ โดยการสังเกต สัมภาษณ์ จดบันทึก หรือใช้แบบสอบถามอย่างง่าย ช่วยในการเก็บข้อมูลเพื่อหาสาเหตุ ซึ่งการสำรวจอาจแบ่งได้เป็น 2 ส่วน คือ สำรวจข้อมูลบุคคล จะเก็บข้อมูลจากสมาชิกในครอบครัวเป็นรายบุคคล สำรวจข้อมูลส่วนรวม จะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อสมาชิกทุกคนในครอบครัว
                        1. 4.3 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ เพื่อใช้ในการวางแผนดูแลสุขภาพต่อไป
                  2. 5. ประโยชน์ของการวางแผน ดูแลสุขภาพของตนเอง และบุคคลในครอบครัว5
                    1. ประโยชน์ของการวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัว มีดังนี้
                      1. 5.1 ทำให้มองเห็นวิธีดำเนินการที่จะปฏิบัติหรือเลือกปฏิบัติ เพื่อการดูแลสุขภาพอย่างเป็นระบบ ทั้งการดูแลสุขภาพของตนเองและบุคคลในครอบครัว
                        1. 5.2 ทำให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต ทั้งของตนเองและบุคคล ในครอบครัว
                          1. 5.3 ลดภาวะความเจ็บป่วย ความพิการ หรือการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร เป็นการป้องกันการเกิด ภาวะเสี่ยงต่อสุขภาพเบื้องต้น
                            1. 5.4 ประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลของครอบครัว ลดภาระและประหยัดงบประมาณ ในด้านการให้บริการสุขภาพหรือการรักษาพยาบาลของรัฐ
                              1. 5.5 เป็นการสร้างความเข้มแข็งแก่สังคม ลดปัญหาด้านการสาธารณสุข เพราะประชาชนมีสุขภาพดี
                    Show full summary Hide full summary

                    Similar

                    การเจริญเติบโต และ พัฒนาการของมนุษย์
                    เชาวรัตน์ เเสงกล้า
                    การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์
                    อุทุมพร ดงหิงษ์
                    ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน
                    jomjam buddee
                    เซต
                    surasit sadlan
                    หลีกเลี่ยงความรุนแรง
                    Pawadee Chaiyasa
                    ตรรกศาสตร์เบื้องต้น
                    patchara katkong
                    ระบบเลขฐาน
                    supaporn somparn
                    โรคไต
                    Suwat Singthong
                    สถิติ
                    supatharaporn.1524
                    ระบบจำนวนเต็ม
                    พรพิมล หมุยเฮบัว