โรคขาดสารไอโอดีน/โรคคอพอก

Description

ผลงานของนาย เสกสรรค์ ศิริมนตรี ชั้น ม.5/1 เลขที่ 10 วิชา สุขศึกษาพื้นฐาน เสนอ คุณครูกนกพร นันแก้ว

Resource summary

โรคขาดสารไอโอดีน/โรคคอพอก
  1. สาเหตุ
    1. ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) ถือเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของร่างกาย มีลักษณะเป็นกลีบ 2 กลีบ คล้ายปีกผีเสื้อ ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร หนักประมาณ 30 กรัม อยู่ด้านหน้าของหลอดลม บริเวณใต้ลูกกระเดือกเล็กน้อย เคลื่อนไหวขึ้นลงได้ตามการเกลือนของหลอดอาหาร
    2. อาการ
      1. 1. ทารกในครรภ์ และมารดา ลักษณะมารดาที่มีภาวะการขาดสารไอโอดีนหรือได้รับปริมาณไอโอดีนไม่เพียงพอ ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดอาการแท้งหรือทารกเสียชีวิตในครรภ์ รวมถึงมารดาเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ง่าย
        1. 2. ทารกแรกเกิด ทารกแรกเกิดในช่วง 0-2 ปี หลังจากการคลอดที่เกิดจากภาวะการขาดสารไอโอดีนขณะอยู่ในครรภ์ และการขาดสารไอโอดีนหลังการคลอดในช่วงระยะเวลาดังกล่าวมักทำให้ร่างกายผิดปกติหลังคลอด เกิดอาการคอพอก ภาวะฮอร์โมนไทร๊อกซินต่ำ เด็กเกิดความผิดปกติของระบบประสาท สมอง และทางร่างกาย ปัญญาอ่อน หูหนวก แขนขากระตุก ตาเหล่ เป็นต้น
          1. 3. เด็ก และวัยรุ่น หากเกิดภาวะการขาดสารไอโอดีนในช่วงที่มีการเจริญเติบโต และพัฒนาทางด้านร่างกาย เด็กมักมีอาการคอพอก ฮอร์โมนไทร๊อกซินต่ำ ร่างกายแคระแกร็น สูบผอม สติปัญญาต่ำ
            1. 4. ผู้ใหญ่ เมื่อเกิดภาวะขาดสารไอโอดีนในวัยผู้ใหญ่มักมีอาการคอพอก ฮอร์โมนไทร๊อกซินต่ำ อ่อนแรง เหนื่อยง่าย เชื่องซึม ไม่กระฉับกระเฉง ผิวหนังแห้ง ท้องผูก ทนหนาวไม่ได้ และเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคอื่นๆได้ง่าย
            2. การรักษา
              1. 1. การให้สารไอโอดีนร่วมกับอาหาร และน้ำดื่ม โดยให้สารไอโอดีนทีละน้อย อย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกวัน ในรูปของเกลือที่ปรุงอาหาร และเครื่องดื่มต่างๆ
                1. 2. การให้สารไอโอดีนที่มีความเข้มข้นสูง ด้วย 2 วิธี คือ – การกิน เป็นลักษณะการกินสารไอโอดีนที่มีความเข้มข้นสูงที่อยู่ในรูปแคปซูลขนาด 200 มิลลิกรัม เป็นประจำตามคำแนะนำของแพทย์ ซึ่งสารไอโอดีนจะถูกดูดซึมในระบบทางเดินอาหารเข้าสู่กระแสเลือด และเข้าสู่ต่อมไทรอยด์ต่อไป ซึ่งจะช่วยป้องกันการขาดสารไอโอดีนได้หลายปี – การฉีด ด้วยการฉีดสารไอโอดีนที่มีความเข้มข้นสูงเข้าบริเวณกล้ามเนื้อขาหรือแขน ซึ่งจะสะสมอยู่ตามกล้ามเนื้อ และไขมันของร่างกายก่อนที่จะเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดเข้าสู่ต่อมไทรอยด์ 1 ซีซี ขนาด 480 มิลลิกรัม
                  1. 3. การรับประทานอาหารทะเล โดยทั่วไป อาหารที่มีสารไอโอดีน และเหมาะสำหรับร่างกายมักเป็นอาหารทะเล ทั้งอาหารทะเลที่เป็นพืช และสัตว์ เช่น สาหร่ายทะเล 100 กรัม จะพบสารไอโอดีนประมาณ 200 ไมโครกรัม ปลาทะเล 100 กรัม จะมีสารไอโอดีนประมาณ 50 ไมโครกรัม ส่วนสารไอโอดีนที่พบในพืช และสัตว์บก ขึ้นกับปริมาณที่สัตว์รับสารไอโอดีนเข้าไปหรือขึ้นกับปริมาณที่พืชดูดซึม ไอโอดีน
                    1. 3. การรับประทานอาหารทะเล โดยทั่วไป อาหารที่มีสารไอโอดีน และเหมาะสำหรับร่างกายมักเป็นอาหารทะเล ทั้งอาหารทะเลที่เป็นพืช และสัตว์ เช่น สาหร่ายทะเล 100 กรัม จะพบสารไอโอดีนประมาณ 200 ไมโครกรัม ปลาทะเล 100 กรัม จะมีสารไอโอดีนประมาณ 50 ไมโครกรัม ส่วนสารไอโอดีนที่พบในพืช และสัตว์บก ขึ้นกับปริมาณที่สัตว์รับสารไอโอดีนเข้าไปหรือขึ้นกับปริมาณที่พืชดูดซึม ไอโอดีน
                    Show full summary Hide full summary

                    Similar

                    การวางแผนดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว
                    plaifa sangsooK
                    การเจริญเติบโต และ พัฒนาการของมนุษย์
                    เชาวรัตน์ เเสงกล้า
                    การให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์
                    อุทุมพร ดงหิงษ์
                    ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน
                    jomjam buddee
                    เซต
                    surasit sadlan
                    หลีกเลี่ยงความรุนแรง
                    Pawadee Chaiyasa
                    ตรรกศาสตร์เบื้องต้น
                    patchara katkong
                    ระบบเลขฐาน
                    supaporn somparn
                    โรคไต
                    Suwat Singthong
                    สถิติ
                    supatharaporn.1524